\
สำนวน เป็นคำกล่าวที่คมคาย กะทัดรัดงดงาม และฟังดูไพเราะจับใจ รวมเนื้อความของเรื่องยาว ๆ ให้สั้นลง เป็นคำกล่าวที่ใช้ถ้อยคำเพียงเล็กน้อย แต่กินความหมายลึกซึ้ง
สุภาษิตไทย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. คำสุภาษิตประเภทที่พูด
อ่านหรือเข้าใจเนื้อความได้ทันที โดยไม่ต้องแปลความหมาย
2. คำสุภาษิตประเภทที่พูด
อ่านหรือฟังแล้วยังไม่เข้าใจเนื้อความนั้นในทันที ต้องนึกตรึกตรอง
ต้องแปลความตีความหมายเสียก่อนจึงจะทราบเนื้อแท้ของความเหล่านั้น
สำนวน หมายถึง โวหาร ทำนองพูด
ถ้อยคำที่เรียบเรียง ถ้อยคำที่ไม่ถูกไวยากรณ์แต่รับใข้เป็นภาษาที่ถูกต้อง
การแสดงถ้อยคำออกมาเป็นข้อความพิเศษเฉพาะภาษาหนึ่งๆ
สำนวนไทย มีความหมายโดยนัย
เป็นลักษณะความหมายเชิงอุปมาเปรียบเทียบ ไม่แปลความหมายตามตัวอักษร
จึงฟังแล้วมักจะไม่ได้ความหมายของตัวมันเอง ต้องนำไปประกอบกับบุคคล กับเรื่อง
หรือเหตุการณ์จึงจะได้ความหมายเป็นคติเตือนใจ เช่นเดียวกับคำที่เป็นสุภาษิต
ความแตกต่างของสุภาษิตและสำนวน
สุภาษิตจะไม่มีการเสียดสีหรือติชมอย่างคำพังเพย
เป็นถ้อยคำที่แสดงหลักความเป็นจริง เป็นที่ยอมรับกันโดย ทั่วๆไป
สุภาษิตนี้ยังมีความหมายรวมไปถึง สัจธรรม
คำสั่งสอนที่เป็นความจริงอันเที่ยงแท้ทางศาสนาด้วย เช่น ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน
เป็นต้น
ตัวอย่างเช่น
ไก่งามเพราะขน
คนงามเพราะแต่ง
ความหมาย คนที่สวยงามเกิดขึ้นได้จากการแต่ง
คนจะงามได้ก็ต้องแต่งตัวให้ดูดี
กินบนเรือน ขี้รดบนหลังคา
ความหมาย คนที่เนรคุณคนเปรียบได้กับคนที่อาศัยพักพิงบ้านเขาอยู่แล้ว
คิดทำมิดีมิชอบให้เกิดขึ้นภายในบ้านนั้น ทำให้เจ้าของบ้านที่อาศัยต้องเดือดร้อน
ไก่เห็นตีนงู งูเห็นนมไก่
ความหมาย ต่างฝ่ายต่างรู้ความลับของกันกัน
กลิ้งครกขึ้นภูเขา
ความหมาย เรื่องที่กำลังจะทำหรือจะทำให้สำเร็จบรรลุผลนั้น ยากรำบาก
แสนเข็ณ มิใช่ของที่ทำได้ง่าย
ขี่ช้างจับตั๊กแตน
ความหมาย ลงทุนเสียมากมายเพื่อทำงานเล็กๆเท่านั้น
เป็นทำนองว่าผลประโยชน์ที่ดีไม่คุ้มกับที่ลงทุน
ขว้างงูไม่พ้นคอ
ความหมาย มีภาระหรือมีเรื่องเดือดร้อน
ทั้งของตนเองและที่เกี่ยวข้องอยู่ แต่ไม่สามารถที่จะแก้ไขให้รอดพ้นไปได้
เขียนด้วยมือลบด้วยเท้า
ความหมาย
คนที่แต่แรกทำความดีจนเป็นที่เชื่อถืออยู่แล้ว
คางคกขึ้นวอ
ความหมาย เปรียบเทียบกับคนที่มีฐานะต่ำต้อย
พอได้ดีแล้วก็มักแสดงกริยาอวดดีลืมตัว
งมเข็มในมหาสมุทร
ความหมาย ค้นหาสิ่งที่ยากจะค้นหาได้ ทำกิจที่สำเร็จได้ยาก
ขวานผ่าซาก
ความหมาย พูดตรงไปตรงมา
สอนจระเข้ว่ายน้ำ
ความหมาย การชี้ทางหรือสอนให้คนที่เป็นอยู่แล้วให้เก่งหรือชำนาญขึ้นไปอีก
แต่มักมุ่งหมายโดยเฉพาะถึงการสอน หรือแนะนำคนชั่วประพฤติไม่ดีส่วนมาก
น้ำมาปลากินมด น้ำลดมดกินปลา
ความหมาย โอกาสของใครหรือจังหวะดีของใคร ฝ่ายนั้นก็ย่อมชนะ
รักวัวให้ผูกรักลูกให้ตี
ความหมาย
ให้อบรมสั่งสอนลูกและทำโทษลูกเมื่อผิด
สีซอให้ควายฟัง
ความหมาย
คนโง่เง่าหรือปัญญาทึบ ซึ่งแม้เราจะพร่ำสอนพร่ำบอกอย่างไรก็ไม่ได้เรื่อง
ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ
ความหมาย การกระทำอะไรสักอย่างที่ไม่เหมาะสมหรือได้สมดุลกัน
หรือใช้จ่ายทรัพย์ลงทุนไปในทางที่ไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย
คบคนพาล พาลพาไปหาผิด
ความหมาย การเลือกคบคนต้องดูดีๆ
เพราะหากคบคนชั่วหรือคนไม่ดีเป็นมิตร ก็มักชักพาเราจูงเราไปในทางไม่ดี
แต่ถ้ารู้จักเลือกคบเพื่อนที่ดี มีความรู้
ก็จะพากันชักจูงให้เรามีความรู้และสิ่งดีๆตามมา
---------------------------------------------------------------------------------
คำถามชวนคิด
1. ข้อใดกล่าวถึงความหมายของสำนวนได้ถูกต้อง ?
ก.
ถ้อยคำในภาษาไทยที่ใช้ในการพูดจาสื่อสารกัน โดยมีความหมายเป็นนัย
ไม่แปลความหมายของคำตรงตัว
ข.
ถ้อยคำในภาษาไทยที่ใช้ในการเปรียบเทียบกับการกระทำของมนุษย์
ค.
ถ้อยคำที่มนุษย์ใช้เพื่อการสื่อสารและโต้ตอบซึ่งกันและกัน
ง.
ถ้อยคำที่เรียงกันแล้วเกิดความหมาย
2. ข้อใดกล่าวถึงความหมายของสุภาษิตได้ถูกต้อง ?
ก. คำที่มีความหมายลึกซึ่ง
อ่านแล้วไม่สามารที่จะเข้าใจได้ทันที
ข.
คำที่มีความหมายเชิงเปรียบเทียบ
ค.
คำกล่าวที่ดีงามมีความหมายลึกซึ่ง เป็นคติสอนใจ
อ่านแล้วเข้าใจง่ายโดยไม่ต้องแปลความหมาย
ง.
สำนวนที่ใช้ถ้อยคำสละสลวย
3. ข้อใดกล่าวถึงความหมายของคำพังเพยได้ถูกต้อง?
ก.
ถ้อยคำที่ใช้ในการสั่งสอนการกระทำของมนุษย์
ข.
ถ้อยคำที่เรียบเรียงขึ้นมาเป็นความหมายกลาง ๆ คือ ไม่เน้นการสั่งสอน
แต่ก็แฝงคติเตือนใจ
ค.
ถ้อยคำที่ใช้ในการกล่าวตักเตือนเพื่อมนุษย์ด้วยกัน
ง.
ถ้อยคำที่นำมาเรียงกันแล้วเกิดความหมาย
4. ฝนตกขี้หมูไหล
หมายถึงข้อใด ?
ก. เพียรพยายาม
สุดความสามารถจนกว่าจะสำเร็จผล
ข.
พลอยเหลวไหลไปด้วยกัน มักใช้เข้าคู่กับ คนจัญไรมาพบกัน
ค.
ยุให้แตกกัน ยุให้ผิดใจกัน
ง. ถ้าคนพาลมาหรือทำร้าย
ก็ไม่ควรโต้ตอบกลับ
5.ประโยชน์ที่ได้รับจากสำนวนไทย ?
ก.
นำหลักคำสอนมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
ข.
ทำให้ทราบความหมายของแต่ละสำนวน
ค.
ช่วยกัดเกลานิสัยของเยาว์ชนให้อยู่ในกรอบและมีระเบียบมากขึ้น
ง. ถูกทุกข้อ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น